กองคลัง

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร (ได้แก่ ภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย) การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างภาษี การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้ การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท การรายงานการจัดเก็บภาษี และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย.

  • งานบัญชีและการเงิน
  • งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้
  • งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง (ได้แก่ ภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย) การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างภาษี การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้ การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท การรายงานการจัดเก็บภาษี และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย.

อ่านเพิ่มเติม

สอบถามภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำปี

ค้นหา

คำนวณภาษีป้าย

หากมีข้อสงสัย/ต้องการชำระภาษี ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ กองคลังองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง ในเวลาราชการ ตั่งแต่ 08.30น. - 16.30น. หรือโทร.053 173662

ช่องทางการชำระค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และภาษีป้าย


1. ชำระได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง
2. ชำระทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยส่งธนาณัติ ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ เช็คธนาคารหรือเช็คที่ธนาคารรับรอง สั่งจ่ายในนาม “องค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง” และดำเนินการจัดส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยถือว่า วันที่หน่วยงานไปรษณีย์ประทับตราลงทะเบียนเป็นวันที่ชำระภาษี
3. รับชำระผ่านธนาคาร โดยการนำใบแจ้งประเมินภาษีที่มีแบบฟอร์มการชำระเงินผ่าน บมจ.ธนาคารกรุงไทย ไปชำระที่ธนาคารกรุงไทย
4. ชำระผ่านธนาคาร โดยการโอนเงินค่าภาษีเข้าบัญชีของอบต.ป่าซาง ติดต่อขอเลขที่บัญชีธนาคาร ได้ที่ งานจัดเก็บรายได้ กองคลัง อบต.ป่าซาง เบอร์โทรศัพท์ 053 173662 หรือทางเพจ Facebook จัดเก็บรายได้ อบต.ป่าซาง และ เว็บไซต์อบต.ป่าซาง
5. ชำระผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (Mobile Banking) โดยการสแกนรหัสคิวอาร์โค้ด ในใบแจ้งหนี้/ใบแจ้ง ประเมินภาษี โดยติดต่อขอรับรหัสฯได้ที่ งานจัดเก็บรายได้ กองคลัง อบต.ป่าซาง เบอร์โทรศัพท์ 053 173662 หรือทางเพจ Facebook จัดเก็บรายได้ อบต.ป่าซาง และเว็บไซต์ของอบต.ป่าซาง

อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

agriculture

ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

มูลค่า ภาษี
0-75 0.01%
>75-100 0.03%
>100-500 0.05%

ยกเว้นภาษีทั้งหมด 3 ปีแรก เฉพาะบุคคลธรรมดา มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท

home

ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย

มูลค่า ภาษี
0-50 0.02%
>50-75 0.03%
>100 ขึ้นไป 0.10%

กรณีบ้านหลังหลัก หากเป็นเจ้าของบ้านและเจ้าของที่ดินได้รับการ ยกเว้นภาษี 50 ล้านบาทแรก ส่วนกรณีเป็นเจ้าของบ้านอย่างเดียวได้รับการ ยกเว้นภาษี 10 ล้านบาท

building

ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม

มูลค่า ภาษี
0-50 0.3%
>50-200 0.4%
200-1,000 0.5%
>1,000-5,000 0.6%
>5,000 ขึ้นไป 0.7%

***************** ***************** *****************

area

ที่ดินรกร้างว่างเปล่า


คิดอัตราภาษีเริ่มต้น 0.3% และเพิ่มขึ้น 0.3% ทุก 3 ปี หากยังไม่มีการนำนาใช้ประโยชน์รวมแล้วต้องไม่เกิน 3%

ภารกิจของงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้

คำถามที่พบบ่อย

  • 01 ภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีประเภทใหม่ที่รัฐบาลจะนำมาใช้เพื่อจัดเก็บ ภาษีเพิ่มเติม เนื่องจากรัฐบาลมีรายได้จากภาษีประเภทอื่นไม่เพียงพอกับรายจ่ายของรัฐบาลใช่ หรือไม่?

    คำตอบ : ไม่ใช่ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีประเภทใหม่ที่จะนำมาใช้จัดเก็บแทนภาษี โรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน โดยรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดจะเป็นของ อปท. เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินหรือรายได้ของรัฐบาล.

  • คำตอบ : พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และ พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 เป็นกฎหมายที่ออกมานาน ทำให้การจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่มีปัญหาและข้อ จำกัดเกี่ยวกับฐานภาษี อัตราภาษี และการลดหย่อนภาษีที่ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ทำให้ อปท.มีรายได้ไม่เพียงพอในการพัฒนาท้องถิ่น รัฐบาลจึงต้องจัดสรรงบประมาณเพื่ออุดหนุนเพิ่มเติม.

  • คำตอบ : (1) ลดความเหลื่อมล้ำ ผู้มีทรัพย์สินมูลค่าสูงมีภาระต้องเสียภาษีมากกว่าผู้ที่มีทรัพย์สินมูลค่า ต่ำ เกิดความเป็นธรรมและช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
    (2) เพิ่มประสิทธิภาพ ลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในการประเมินภาษีกระตุ้นให้เจ้าของที่ดินใช้ ประโยชน์ในที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาการกักตุนที่ดินเพื่อเก็งกำไร กระตุ้นให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน
    (3) อปท.มีรายได้เพียงพอที่จะนำไปใช้ในการลงทุนและจัดบริการสาธารณะที่มีคุณภาพต่อประชาชนในพื้นที่มากขึ้น
    (4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม กระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่มีการตรวจสอบการดำเนินงานของ อปท.ว่ามีการเก็บภาษีอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

  • คำตอบ : (1) เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
    (2) เจ้าของอาคารชุด และ
    (3) ผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์สินของรัฐ

  • คำตอบ : ฐานภาษีของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ มูลค่าทั้งหมดของที่ดินรวมกับสิ่งปลูกสร้างวิธีการคำนวณภาระภาษีในแต่ละกรณี กรณีที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างภาระภาษี = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี ทั้งนี้ กำหนดให้มูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน
    กรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างภาระภาษี = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี
    ทั้งนี้กำหนดให้มูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน
    มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = (ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง)
    ค่าเสื่อมราคากรณีห้องชุดภาระภาษี = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี
    ทั้งนี้กำหนดให้มูลค่าห้องชุด = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่ห้องชุด (ตร.ม.)
    กรมธนารักษ์จะเป็นผู้กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด และอัตราค่าเสื่อมราคา

  • คำตอบ : ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใช้วิธีประเมินภาษีโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ประเมินให้ และจะส่ง แบบประเมินภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีภายในเดือน ก.พ. ของแต่ละปีและผู้เสียภาษีต้องชำระภาษีให้แล้วเสร็จ ภายใน 30 เม.ย. ของปีนั้น

 

ผลการจัดเก็บภาษีประจำปี 2567

จัดเก็บได้ครบถ้วนและแล้วเสร็จตามกรอบเวลา.

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2,036 ราย 355,088.90 บาท
ภาษีป้าย 48 ราย 43,156.00 บาท
อากรและค่าธรรมเนียมต่างๆ 503,898.65 บาท
รายได้จาการอุดหนุนจากภาครัฐ40,296,982.00 บาท

เพจจัดเก็บรายได้ อบต.ป่าซาง

ติดต่อหน่วยงาน

สามารถติดต่อหน่วยงานได้ที่กองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง ในเวลาราชการ ตั่งแต่ 08.30น. - 16.30น.

องค์การบริหารตำบลป่าซาง:

เลขที่ 138 หมู่ 11 ต.ป่าซาง อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย 57350

Call:

โทร: 053-173-661 โทรสาร: 053-173-661 ต่อ 11